วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 12 กรกฏคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

องค์ประกอบของภาษา
1.     Phonology  – ระบบเสียงของภาษา
-     เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
-     หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2.    Semantic    - ความหมายของภาษาและคำศัพท์
-     คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลากหลายความหมาย
-     ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
3.    Syntax       - ระบบไวยากรณ์
-     การเรียงรูปประโยค
4.    Pragmatic   - ระบบการนำไปใช้
-     ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวความคิดนักการศึกษา
1.     แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
-   สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
-   ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ John B. Watson
-   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
-   การวางเงื่อนไขพฤติกรรมเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถทีจะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
-   ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
-   การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
-   เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
-   เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์
-   เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
2.    แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของ Piaget
-   เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-   ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของ Vygotsky
-   เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-   สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-   เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
-   ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
3.    แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความร่างกาย
ทฤษฎีของ Arnold Gesell
-   เน้นความพร้อมด้านร่างกายในการใช้ภาษา
-   ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
-   เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
-   เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
4.    แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ทฤษฎี Noam Chomsky
-   ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
-   การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
-   มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)
ทฤษฎีของ O. Hobart Mowrer
-   คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
ความสามารถในการฟังและเกิดความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่น  และเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
       แนวทางในการจัดประสบการณ์
-   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-   นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ 3 กลุ่ม
1.     มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
-   นำองค์ประกอบย่อยของภาษา มาใช้ในการสื่อความหมาย
-   เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
2.    มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
-   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
-   การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
-   ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.    มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
-   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
-   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-   เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา




          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น