วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
การจัดประสบการณ์ภาษ
ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษา เป็นเครื่องมือในการแสดงความรุ้สึก
ความสำคัญของภาษา
1. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร 
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรุ้
3. ภาษาเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะภาษาประกอบด้วย
การฟัง
การพูด
การอ่าน
การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
1. การดูดซึม (Assimilation)
  เป้นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้ และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตัวเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation)
  เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่กับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดสมดุล (Equilibrium)กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา
    1. ขั้นพัฒนาการได้ประสาทสัมผัส (Sensorimtor Stage) แรกเกิด-/ปี เด็กจะเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
   2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperationalv Stage) 
                             2.1 อายุ2-4 ปี (Preconceptual Stage) เริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณ์ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคำว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
                             2.2 อายุ4-7 ปี (Intuitive Period) ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นสูยน์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์ดดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ
   3. ขั้นคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11 ปี
   4. ขั้นคิดแบบนามธรรม(Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
          เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นลำดับขั้น ครูหรือสอนต้องมีความเข้าใจ ยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
จิตวิทยาการเรียนรู้
    1. ความพร้อม  วัย  ความสามารถ  ประสบการณ์เดิมของเด็ก
    2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล  อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม  อิทธิพลทางพันธุกรรม
    3. การจำ  การเห็นบ่อย  การทบทวนเป็นระยะ  การจัดเป็นหมวดหมู่  การใช้คำสัมผัส
    4. การเสริมแรง  การเสริมแรงทางบอก  การเาริมแรงทางลบ
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น