วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 26 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน13.10-16.40
เวลาเข้่าสอน 13.10 เวลาเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40


อาจารย์ให้วาดรูปอะไรก็ได้ฉันเลยวาด Mickey Mouse แล้วอาจารย์ก็ให้ออกไปเล่าเป็นนิทานให้สอดคล้องกันทั้งห้อง ที่อาจารย์ให้วาดเพราะฝึกกล้ามเนื้อมือค่ะ 

การประเมิน
1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2. เน้นความก้าวหน้าของเด็ก
          -บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
          -ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้เกิดพัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น
3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4. ให้เด็กมีโอกาสในการประเมินตนเอง
5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
          - การเขียนตามคำบอกของเด็ก
          - ช่วยเด็กเขียนบันทึก
          - อ่านนิทานร่วมกัน
          - เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว เตือนความจำ
          - อ่านคำคล้องจอง
          - ร้องเพลง
          - เล่าสู่กันฟัง
          -เขียนส่งสารถึงกัน

อาจารย์ได้เล่านิทานให้ฟังแล้วนิทานที่เล่าก็ได้ออกมาเป็นรูปร่างนั้นก็คือแมลงเต่าทองค่ะ
และอาจารย์ได้อวยพรให้ทุกคนในห้องว่าข้อให้ที่อ่านหนังสือออกมาข้อให้ข้อสอบออกทุกข้อนะ แต่ละคนพร้อมกันสาธุกันใหญ่เลยค่ะ



วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤษ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
แนวทางการจัดประสบการณ์
1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา(Skill Approch)
- ให้เด็กได้รู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ
- นำคำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกรูปสะกดคำ การเขียน
การแจกรูปสะสมคำ ไม่สอดคล้องกับะรรมชาติ
Kenneth Goodman
- เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้ และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
2. การสอบภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
Dewey/ Piaget/ Vygotsky/ Haliday
- เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และลงมือกระทำ
- เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้สึกขึ้นมาด้วยตนเอง
- อิทธฺพลของสังคมและบุคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาธรรมชาติ
- สอนแบบบูรณาการ/ องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอนแทรกการฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน ไป พร้อมกับการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
- ไม่บังคับให้เด็กเขียน
หลักกการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ(นฤมน เนียมหอม 2540)
 1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียน จะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ้งหมาย
- เด็กได้ใข้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ้งหมายในการใช้ในเด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4. การตั้งความคาดหวัง
- ครูเชื่อมั้นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
- เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
- เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผุ้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรม อย่างเดียวกัน
- ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั้น
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กที่ไม่มีความสามารถ
- เด็กมีความเชื่อมั้นว่าตนมีความสามารถ
ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
ผู้อำนวยความสะดวก
ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ ไปพร้อมๆกับเด็ก
บทบาทครู
- ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนในการอ่าน การเขียน
- ครุควรยอมรับกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์



วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 12 กรกฏคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

องค์ประกอบของภาษา
1.     Phonology  – ระบบเสียงของภาษา
-     เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
-     หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2.    Semantic    - ความหมายของภาษาและคำศัพท์
-     คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลากหลายความหมาย
-     ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
3.    Syntax       - ระบบไวยากรณ์
-     การเรียงรูปประโยค
4.    Pragmatic   - ระบบการนำไปใช้
-     ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวความคิดนักการศึกษา
1.     แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
-   สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
-   ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ John B. Watson
-   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
-   การวางเงื่อนไขพฤติกรรมเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถทีจะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
-   ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
-   การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
-   เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
-   เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์
-   เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
2.    แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของ Piaget
-   เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-   ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของ Vygotsky
-   เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-   สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-   เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
-   ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
3.    แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความร่างกาย
ทฤษฎีของ Arnold Gesell
-   เน้นความพร้อมด้านร่างกายในการใช้ภาษา
-   ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
-   เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
-   เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
4.    แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ทฤษฎี Noam Chomsky
-   ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
-   การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
-   มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)
ทฤษฎีของ O. Hobart Mowrer
-   คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
ความสามารถในการฟังและเกิดความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่น  และเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
       แนวทางในการจัดประสบการณ์
-   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-   นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ 3 กลุ่ม
1.     มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
-   นำองค์ประกอบย่อยของภาษา มาใช้ในการสื่อความหมาย
-   เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
2.    มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
-   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
-   การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
-   ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.    มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
-   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
-   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-   เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา




          

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 5 กรกฎคม 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40







  1. การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
          ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในกลุ่มชนสามารถพัฒนามนุษย์ได้
               
               2. ทฤษฎีทางภาษาของเด็กปฐมวัย
          เด็กมีพัฒนาการทางภาษาได้อย่างรวดเร็ว เด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้

               3.พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็กแรกเกิด - 2ปี
          การเรียนรู้ 0-2 ขวบ เด็กจะจดจำใบหน้าได้ อายุ 4 สัปดาห์ เด็กจะเห็นเราและเรียนแบบการกระทำของเรา อายุ 8 สัปดาห์ เด็กจะยิ้มสามารถมองจ้องวัตถุและจดจำ อายุ 3 เดือน จะมองเห็นของที่บนศรีษะ อายุ 4 เดือน เด็กจะมีความตื่นเต้น เด็กจะแสดงอารมณ์กลัว เด็กจะเริ่มสนใจกระจก เด็กจะแสดงความรับรู้ ทารกจะตบมือได้ 
          พัฒนาการ แรกเกิด-2 ขวบ เด็กจะรับรู้เสียง รส กลิ่น การสัมผัส สามรถส่งเสริมเด็กได้ด้วย การอุ้ม อ้อมกอด เด็กต้องได้รับนมจากแม่เป็นการสร้างสัมพันธ์กับแม่
          เดือนที่2 เริ่มคุยเริ่มส่งเสียงจากพ่อแม่ ควรส่งเสริมด้วยการใช้ของเล่นสีสด จะพัฒนาการใช้สายตาในการมอง เดือนที่3 เด็กจะส่งเสียงโต้ตอบ พ่อแม่ต้องเริ่มสังเกตพฤติกรรมเป็นพิเศษต้องมีการสบตา ถ้าไม่มีปัญหาเหล่านี้ก็แปลว่าผิดปกติ

               4.พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 ปี
          เด็กจะได้รับพัฒนาการไปตามขั้นตอน เราไม่ควรเร่งรัดและปิดกั้น

               5.ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
          วิธีการเรียนรู้เด็กปฐมวัย เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา
          - การเล่นและการเข้าสังคม
          - การช่วยเหลือตนเอง
          








บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 28  มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
ไม่มีการเรียนการสอน มีกิจกรรมรับน้อง










วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
การจัดประสบการณ์ภาษ
ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษา เป็นเครื่องมือในการแสดงความรุ้สึก
ความสำคัญของภาษา
1. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร 
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรุ้
3. ภาษาเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะภาษาประกอบด้วย
การฟัง
การพูด
การอ่าน
การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
1. การดูดซึม (Assimilation)
  เป้นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้ และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตัวเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation)
  เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่กับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดสมดุล (Equilibrium)กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา
    1. ขั้นพัฒนาการได้ประสาทสัมผัส (Sensorimtor Stage) แรกเกิด-/ปี เด็กจะเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
   2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperationalv Stage) 
                             2.1 อายุ2-4 ปี (Preconceptual Stage) เริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณ์ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคำว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
                             2.2 อายุ4-7 ปี (Intuitive Period) ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นสูยน์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์ดดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ
   3. ขั้นคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11 ปี
   4. ขั้นคิดแบบนามธรรม(Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
          เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นลำดับขั้น ครูหรือสอนต้องมีความเข้าใจ ยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
จิตวิทยาการเรียนรู้
    1. ความพร้อม  วัย  ความสามารถ  ประสบการณ์เดิมของเด็ก
    2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล  อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม  อิทธิพลทางพันธุกรรม
    3. การจำ  การเห็นบ่อย  การทบทวนเป็นระยะ  การจัดเป็นหมวดหมู่  การใช้คำสัมผัส
    4. การเสริมแรง  การเสริมแรงทางบอก  การเาริมแรงทางลบ
    

บันทึกอนุทินครั้งที่1

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 14 มิถุนายน 2556
ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้คือได้ฟังการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเบื้องต้น ดดยสามารถแยกย่อยออกได้ 3 หัวข้อใหญ่คือ 1. การจัดประสบการณ์ 2. ภาษา 3. เด็กปฐมวัย โดยหัวข้อแรกก็สามารถแยกออกมาได้อีกคือ วิธีการ ในที่นี้คือ วิธีการใช้ที่จะจัดประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมในการจัดประสบการณ์ ต่อมาหัวข้อที่สอง ภาษา โดยสามารถแยกได้ดังนี้ คือ พูดและ ภาษาท่าทาง และหัวข้อสุดท้ายคือเด็กปฐมวัยสามารถแบ่งได้คือ เพศ ระดับชั้น และแรกเกิด- 6 ปี